Home มุมมองชีวิต “ขายดีจนเจ๊ง”ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน (เตือนสติดีมาก)

“ขายดีจนเจ๊ง”ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน (เตือนสติดีมาก)

คนค้าขายบางคน บางเจ้า ขายดีจนเจ๊ง… อ่ า นไม่ผิดหรอกครับ หมายความอย่างนั้นจริงๆขายดี…จนกระทั่งธุรกิจเจ๊ง แล้วต้องปิดตัวลงแบบเจ้าตัวยังงงๆ กับชีวิตว่าเกิดอะไรขึ้น

เหตุการณ์เช่นนี้ มักเกิดขึ้นกับเจ้าของกิจการขนาดเล็กในบ้ านเรา( ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านอ า ห า ร ร้านจิปาถะ )ที่เริ่มต้นเติบโตมาจากระบบเจ้าของคนเดียว

มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาความเชี่ยวชาญนั้นมาทำธุรกิจ จนประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้า มีลูกค้ามากมายแต่อยู่ๆ ก็เกิดอาการซวนเซ แล้วเจ๊งไปซะง่ายๆมีเพื่อนรายหนึ่ง อยู่ในอาการที่ว่ามานี้..

โชคดีที่มาถามก่อนเจ๊ง เพื่อนมาถามผมว่า…เกิดอะไรขึ้น ทั้งๆ ที่ธุรกิจไปได้ดีลูกค้ามากมายยอดขายแต่ละวัน…นับเงินเมื่อยมือ แต่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้ในธุรกิจเหมือนเติมไม่เต็ม ตลอดหลายปีที่ทำธุรกิจมา ผมเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆว่า..

“เป็นเจ้าของกิจการมีเงินเดือน เดือนละเท่าไหร่…?”

“เงียบ…แทนคำตอบ ก่อนที่จะถามกลับมาว่า…”

ทำไมต้องมีเงินเดือน ในเมื่อเป็นเจ้าของอยู่แล้วผมถามคำถามที่สอง “แล้วเจ้าของใช้เงิน เดือนละเท่าไหร่?” ลังเลนิดหนึ่ง ก่อนจะตอบว่า..ไม่รู้ว่าเดือนละเท่าไหร่ เพราะจะใช้อะไรก็หยิบไปจากลิ้นชัก ไม่ได้จดไว้ว่าเท่าไหร่

อาศัยว่าถ้าเงินพอก็หยิบไปได้ ถ้าไม่พอ ก็รอให้เงินพอก่อน แล้วค่อยหยิบผมถามคำถามที่สาม “เงินที่หยิบจากลิ้นชักไป เอาไปซื้ ออะไรบ้ าง”คราวนี้สาธย ายย าวเหยียด…ก็ซื้ อทุกอย่าง กินข้าว ซื้ อของเข้าบ้ าน เลี้ยงสังสรรค์ ผ่ อ น รถ…ฯลฯ

ผมสรุป…“นั่นแหละสาเหตุ”

คนทำธุรกิจแบบโตมากับมือ ส่วนใหญ่เป็นแบบเพื่อนผมนี่แหละครับ ไม่เคยตั้งเงินเดือนให้ตัวเองไม่เคยจดว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ และใช้ไปกับเรื่องอะไร ทั้งหลายทั้งปวงสรุปได้ 3 สาเหตุใหญ่ คือ

1. ไม่แยกแยะเงินของธุรกิจออกจากเงินส่วนตัว การที่ไม่ตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง

เพราะคิดว่าตัวเองคือเจ้าของธุรกิจ และเป็นเจ้าของเงินทั้งหมดอยู่แล้ว จะใช้อย่างไรก็ได้นั่น คือ แนวคิดเริ่มต้นที่ “ผิด”เพราะต้องมองให้ธุรกิจเป็นเหมือนบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่เรารับจ้างทำงานให้อยู่

เวลาเราจ้างลูกจ้าง จ่ายเงินเดือนชัดเจน ใช้เกินกว่านั้นไม่ได้แต่ตัวเราซึ่งรับจ้างธุรกิจที่เราก่อตั้งขึ้นมา กลับใช้เงินได้ไม่จำกัดซึ่งส่งผลทำให้เงินที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนไม่คงที่ในแต่ละเดือน ขึ้นอยู่กับเราจะเ ม ามันหยิบมาใช้มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น ต้องตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง แล้วจ่ายเงินเดือนเมื่อสิ้นเดือนเหมือนพนักงานคนอื่นๆแล้วต้องใช้เงินแค่นั้น ห้ ามเกิน ถ้าเกิน ก็ห้ามหยิบมาจากลิ้นชักอีกต้องไปหายืมคนอื่นเอาเอง ห้ามยืมจากลิ้นชัก ถ้าจะยืมจากลิ้นชักจริงๆ ก็ต้องจด แล้วนำมาคืนอย่างเคร่งครัด

2. ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองมาแล้ว ควรจะทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ตัวเองด้วย คร่าวๆ ก็ได้

เอาพอรู้ว่า แต่ละวันจ่ายอะไรไปเท่าไหร่ เหลือเงินใช้ได้อีกเท่าไหร่ ไม่ใช่ใช้สนุกมือไปเรื่อยเพราะเห็นว่าธุรกิจขายดี ถ้าคิดว่าขายดี และเงินเดือนที่ตั้งให้ตัวเองไม่พอใช้ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองซะ จะขึ้นเท่าไหร่ไม่มีใครว่า แต่ควรเป็นตัวเลขที่มีเหตุผล และไม่ทำให้กระทบกับรายรับของธุรกิจ

จะรู้ได้อย่างไรว่าไม่กระทบ ต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจด้วย อันนี้ถ้าไม่ทำ…แ ย่เลยนะของส่วนตัวขี้เกียจทำ ใช้ระบบนับเงินที่เหลือในกระเป๋ายังพอได้แต่ของธุรกิจ ไม่ทำบัญชี เดี๋ยวจะรวยแบบไม่รู้เรื่อง และเจ๊งแบบไม่รู้เรื่องเช่นกัน

3. ใช้เงินผิดประเภท เพื่อนผมเอาเงินที่หยิบจากลิ้นชักไปซื้ อข้าวกิน ไปเลี้ยงสังสรรค์

ไปซื้ อของใช้เข้าบ้ าน ไปผ่ อ น รถ…ฟังดูแล้วล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น เรื่องส่วนตัวต้องใช้เงินส่วนตัวคือ เงินเดือนของตัวเอง แต่เงินของธุรกิจ ควรจะจ่ายในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

เช่น ชำระหนี้การค้า ซื้ อวัตถุดิบ จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ อะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับธุรกิจตอนที่รับเงินจากลูกค้าในเงินแต่ละก้อนที่ได้รับ ประกอบด้วย ต้นทุนของสินค้า ต้นทุนค่าดำเนินการ และกำไร อยู่ในนั้นแต่เวลาที่เราหยิบออกมาจ่าย เรากลับมองว่าวันนี้รับมาเท่าไหร่ โดยมองว่าเป็นรายรับล้วนๆ

ไม่คิดจะแยกทุนแยกกำไรกันเลย พอเอาไปใช้ผิดประเภท เท่ากับว่า..ได้ใช้ทั้งกำไรและต้นทุนไปทั้งหมด ก็จะอยู่ในอาการ “ทุนหด…กำไรไม่เหลือ”

ที่มา : b i t c o r e t e c h

Load More Related Articles
Load More By ผู้เขียนบทความ
Load More In มุมมองชีวิต

Check Also

คน 7 ประเภทที่ทำให้คุณลำบากใจไปตลอดชีวิต

บ่อยครั้งที่การถูกขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไ … …